วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

......แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต


อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โปรโตคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟล์วอลสำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้

เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้

ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

......การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

          1.  เว็บไซต์ (Website)  หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหาเว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
1.1  การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
             1.2  การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน

2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น

 3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
          ออนไลน์ (online)  เป็นคำทับศัพท์  หมายถึง  การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ  อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย  ดังนี้
                    1.  ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ  คือ
                              "และ"                    ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  และ  "เรื่องสั้น"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล  เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น  จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
                              "หรือ"                    ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  หรือ  "ทมยันตี"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ  ว.วินิจฉัยกุล  และทมยันตี  ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
                              "ไม่"                       ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  ไม่  "ประวัติ"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ  ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน  จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล  เลย
                    2.  ใช้สัญลักษณ์  หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
                              เครื่องหมายคำถาม ?                    ใช้แทนอักษร 1 ตัว
                              เครื่องหมายดอกจัน*                    ใช้แทนอักษรหลายตัว
                              ตัวอย่าง  ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ  แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
                              ต้องการค้นเรื่อง  ปัญจวัคคีย์  แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์  ปัญจวัคคี*
                    3.  ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database)  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า  NEAR  สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย

......ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคน ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวกมาก โดย E-mail จะมีหลักการทำงานดังนี้
POP3 (Post Office Protocol) ซึ่งในปัจจุบันเป็น protocol มาตรฐานที่ใช้สำหรับรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนี้
SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
IMAP (Internet Message Access Protocol)
MIME (Multipurpose Internet Mail Extension)

วิธีการทำงานของ POP3
POP3 จะมีหลักหารทั่วไปคล้ายๆกับหลักการรับและส่งของระบบไปรษณีย์ในปัจจุบัน คือในทันทีที่มีจดหมายมา ส่งที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง (โดยทั่วไปคือ Mail server ของ ISP หรือ องค์กรต่างๆ)จดหมายฉบับนั้นก็จะค้าง อยู่ที่ๆทำการฯ ไปจนกว่าจะมีคนมาติดต่อขอรับมัน ด้วยวิธีการนี้ภาระของผู้ส่งจดหมายจะสิ้นสุกเมื่อจดหมายถึง ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง(ซึ่งก็เปรียบเสมือนโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บจดหมายของผู้ใช้ปลายทาง) POP3 จะเป็น Protocol แบบดึง('Pull' Protocol) เมื่อใดก็ตามที่เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้บรอการ (Client) มีความต้องการที่จะ ตรวจสอบข้อความ มันจะทำการเชื่อมต่อไปยัง เมล เซอเวอร์ และจะใช้ POP เพื่อ Login เข้าปยังตู้รับจดหมาย (Mailbox) แล้วดึงจดหมายนั้นมาไว้ในเครื่องเราPOP จะเป็นหารบริการที่เหมาะสมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ต้อง การติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์ เพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราจะรับ E-mail ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อม ต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา

วิธีการทำงานของ SMTP
วิธีการนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันบน Unix ซึ่ง เป็น โปรโต้คอลที่อาศัยวิธีการส่งจดหมายเป็นทอดๆระหว่างโฮสต์ ต่อๆกัน จนกว่าจะไปถึงโฮสปลายทาง สรุปคือ วิธีการนี้เป็นวิธีเก่า ถ้าไม่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รับเอาไว ้ตลอดเวลาก็จะไม่สามารถรับ จดหมายได้ และในปัจจุบันเครื่อง PC ส่วนบุคคลทั้งหลายก็ไม่ได้ใช้ระบบปฏิบัติ การUNIX และระบบปฏิบัติการที่ใช้ก็ไม่รองรับไฟล์ในระบบ Unix นั่นก็หมายความว่า หากใช้เครื่อง PC ถึง จะเปิดเครื่องไว้ เครื่องนั้นก็ไม่สามารถใช้ไฟล์นั้นได้อยู่ดี ระบบนี้จึงเป็นระบบเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก

วิธีการทำงานของ IMAP
เป็น Protocol ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ POP3 แต่จะแก้ปัญหาของ POP3 ได้ดีขึ้นคือ POPจะมีวิธีการทำงานในลักษณะ "เก็บและส่งต่อ" (store-and-forward) ดังนั้นกระบวนการจัดการจดหมายต่างๆจึงยังไม่ดีมากพอ IMAP จะแตกต่าง จาก POP ในเรื่องของการตรวจสอบเมล์ ซึ่ง IMAP จะสามารถตรวจสอบเมล์ได้ 3 แบบคือ
      1.offline access คือดึงเมล์ ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่เครื่องเราและ ลบเมล์ออกจากเครื่อง server(ซึ่ง POP3 จะตรวจสอบด้วยวิธีนี้ และการใช้โปรแกรมดึงอีเมล์ (E-mail Client ) บางตัวเราสามารถสั่งให้เก็บจดหมายที่เราอ่านแล้วไว้ที่เครื่อง server ได้
     2.Online-access อ่านเมล์แบบออนไลน์โดยใช้เครื่องเราเป็นตัวอ่านเมล์ ส่วนตัวจดหมายก็อยู่ที่ server
     3. Disconnected access คือการผสมระหว่าง 2 วิธีแรกคือ เราสามารถเลือกเมล์ที่ต้องการนำมาเก็บเครื่องเราก่อน ได้ โดยไม่ต้องดาวโหลดมาทั้งหมด ที่สำคัญเราสามารถรู้ได้ว่าเราได้มีการลบเมล์ไปเท่าไหร่แล้ว โดย IMAP จะสามารถจดจำเอาไว้ได้ว่าเราได้ลบเมล์ฉบับไหนออกไปเมื่อมีการติดต่อกับ เซอร์เวอร์ในครั้งถัดไปจำนวน เมล์ในเครื่องเรากับเครื่องเซอร์เวอร์จะถูกปรับให้เข้ากันได้โดยอัติโนมัติ(คือการทำ Synchronized) ด้วยเทคนิค นี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบเมล์ได้จากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องโดยไม่สับสน(ไม่ว่าคุณจะใช้เครื่องจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือ โน๊ตบุค ก็จะให้ผลเหมือนกันซึ่งจะต่างจาก POP ที่ทำให้สับสนเมื่อตรวจเมล์จากหลายๆเครื่อง) ซึ่งเราสามารถสรุปจุดเด่นของ IMAP ได้ดังนี้
      1. IMAP สามารถให้บริการในรูปแบบ remote ได้ดีกว่า (คือการควบคุมการใช้เมล์จากเครื่องเราไปยัง Server ) เช่น อ่านเมล์แบบออนไลน์ แยกเมล์กับส่วนประกอบเอกสาร (Attachment)ออกจากกันได้ เราสามารถเลือกดาว โหลดจดหมายมาเก็บไว้เครื่องเรา โดยทิ้งส่วนประกอบเอกสารไว้ที่ Server เพื่อดาวโหลดในภายหลังหรือยามว่าง
     2. IMAP สนับสนุนโฟลเดอร์แบบลำดับชั้นและสามารถแบ่งโฟลเดอร์ให้ใช้งานร่วมกันได้(folder hierarchies and folder sharing) ในขณะที่ POP ไม่สามรถทำได้
     3. IMAP อนุญาตให้ทำการค้นหาจดหมายหรือบางส่วนของจดหมาย รวมทั้งเลือกจดหมายที่ต้องการจะนำมาเก็บ ไว้ที่เครื่องเราได้ (การค้นหานี้จะทำโดย server ไม่ใช่ Client) แต่ถึงยังไงก็แล้วแต่ IMAP protocol ก็ยังไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันโดยนักเล่นอินเทอร์เน็ตทั้งหลายยังคงใช้ POP กันอยู่เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้
     1. POP3 นั้นได้ติดตั้งอยู่ในโปรแกรมชิอดังที่มีความสามารถลูกเล่นแปลกใหม่ที่ได้รับความนิยมของ user ทั่ว ไปในขณะที่ IMAP นั้นยังไม่ค่อยมีโปรแกรมที่พัฒนามากนัก
     2. การใช้ IMAP นั้น จะต้องใช้ทรัพยากรของเครื่อง Server มากขึ้นทำให้เครื่องที่เป็น server ต้องทำงานหนักขึ้น อย่างมากจึงต้องเสียค่าบริการราคาแพง แต่ POP นั้นมีให้บริการฟรีทั่วไปในโลก Cyber space
      3. IMAP นั้นจะต้องใช้เวลาในการติดต่อนานกว่า เนื่องจากมีกิจกรรมที่จะต้องส่งข้อมูลระหว่าง Client กับ server เพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ตรงกันซึ่งต่างกับ POP คือดึงข้อมูลมาแล้วก็หมดหน้าที่

วิธีการทำงานของ MIME
           เนื่องจากอีเมล์สมัยแรกที่เริ่มต้นในระบบอินเทอร์เน็ตจะมีค่าแค่เพิ่งเครื่งมือในการส่งข้อความสั้น โดยที่คุณ ไม่สามารถที่จะแนบเอกสารหรือรูปภาพที่คุณชอบส่งไปได้ จนกระทั่งได้มีการพัฒนา กำหนด Protocol ใหม่ที่ชื่อว่า MIME ซึ่งเป็มาตรฐานในการเข้ารหัสแฟ้มข้อมูลหลายชนิดไปรวมกับ E-Mail ผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ม ีไฟล์ประเภทไหนที่ MIME ไม่รู้จัก เราจึงสามารถส่งไฟล์ทุกประเภทไปพร้อมกับ E-mail ได้ โดยมีวิธีการคือแปลง ไฟล์รูปภาพ เสียง วีดีโอ ซึ่งอยู่ในรูปแบบ Binary ให้มาอยู่ในรูปแบบตัวอักษร MIME เป็นตัวมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อรองรับจุดประสงค์ที่หลากหลายจากการใช้งาน internet Mail ทั้งนี้เพื่อ ขยายประโยชน์ใช้สอบของอีเมล์ได้มากขึ้น แฟ้มข้อมูลมาตรฐาน MIMEสามารถใช้ร่วมกับการเก็บไฟล์ของส่งผ่าน ไปทางมาตรฐาน SMTP และ UUCP รวมถึง BitNet X.400 SNADS PROFS และยังมีความสามารถในการแลก เปลี่ยนข้อมูลบนระบบปฏิบัติการ ที่ต่างกันแต่ชนิดของซอฟแวร์ที่ใช้ต่างกันได้อย่างน่าอัศจรรย์

สรุป
ถึงแม้จะมี Protocol มากมายที่ใช้สำหรับอินเทอร์เน็ตเมล์ซึ่งแต่ละอันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียของตัวเอง ซึ่งโดย ทั่วไปก็จะใช้ POP3 ร่วมกับ SMTP โดยจะใช้ SMTP ในการส่งเมล์ออกไปยังปลายทางและใช้ POP ในการรับ เก็บจดหมาย E-mail เป็นมาตรฐานในการใช้ E-mail ในปัจจุบัน ซึ่งการใช้งานนี้ก็สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิดีแล้วในปัจจุบัน

......กระดานข่างอินเล็กทรอนิกส์
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Bulletin Board System) หรือ บีบีเอส (BBS) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมเทอร์มินัลติดต่อเข้าไปในระบบ ผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์. โดยในระบบจะมีบริการต่าง ๆ ให้ใช้ เช่น ระบบส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (คล้าย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน แต่รับส่งได้เฉพาะภายในระบบเครือข่ายสมาชิกเท่านั้น) ห้องสนทนา บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ และกระดานแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น    บีบีเอสส่วนใหญ่เปิดให้บริการฟรี โดยสมาชิกจะสามารถเข้าใช้ระบบได้แต่ละวันในระยะเวลาจำกัด บีบีเอสมักจะดำเนินการในรูปของงานอดิเรกของผู้ดูแลระบบ หรือที่เรียกกันว่า ซิสอ็อป (SysOp จากคำว่า system operator)    บีบีเอสส่วนในเมืองไทยมีขนาดเล็ก มีคู่สายเพียง 1 หรือ 2 คู่สายเท่านั้น บางบีบีเอสยังอาจเปิดปิดเป็นเวลาอีกด้วย บีบีเอสขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนได้แก่ ManNET ซึ่งมีถึง 8 คู่สายและเปิดบริการตลอด 24 ชม. ManNET ดำเนินการโดยแมนกรุ๊ป ผู้จัดทำนิตยสารคอมพิวเตอร์รายใหญ่ในยุคนั้น. นอกจากนี้ยังมีบีบีเอส CDC Net ของ กองควบคุมโรคติดต่อ (กองควบคุมโรค ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบีบีเอสระบบกราฟิกรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย
ในปัจจุบัน บีบีเอสมีบทบาทน้อยลงไปมาก เนื่องจากความแพร่หลายและข้อได้เปรียบหลายประการของ อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ไวด์เว็บ. ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า บีบีเอส อาจจะใช้เรียกกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตด้วย. แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว นิยมเรียกกระดานข่าวเหล่านี้ว่า เว็บบอร์ด มากกว่า

......ห้องสมุด  แหล่งข้อมูลความรู้

ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค วัสดุเทปและโทรทัศน์ CD-ROM DVD VCD รวมถึงไมโครฟิล์มด้วย โดยมีบรรณารักษ์ เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุด มีความสะดวกสืบค้นได้ง่าย ตรงกับความต้องการ
ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
          ห้องสมุด ยังมีคำเรียกต่างๆ อีกมากมาย อาทิ ศูนย์ข้อมูล, ศูนย์วัสดุ, ศูนย์วัสดุการศึกษา, สถาบันวิทยบริการ, ศูนย์เอกสาร และ ศูนย์สารนิเทศ เป็นต้น